Fotografía de autor

กนกพงศ์ สงสมพันธุ

Autor de จดหมายจากนักเขียนหนุ่ม

7 Obras 8 Miembros 1 Reseña

Sobre El Autor

Obras de กนกพงศ์ สงสมพันธุ

Etiquetado

Conocimiento común

Todavía no hay datos sobre este autor en el Conocimiento Común. Puedes ayudar.

Miembros

Reseñas

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่รวบรวมจดหมายของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ที่เขียนถึงเพื่อน พี่ น้องนักเขียนหลาย ๆ คน ผู้อ่านจะได้อ่านจดหมายของนักเขียนที่มีความตั้งใจ แน่วแน่ มุ่งมั่น ในงานวรรณกรรม อาจกล่าวได้ว่างานวรรณกรรมคือชีวิตเขาเลยก็ได้ ภาพชีวิตเขาที่สะท้อนออกมาจากจดหมาย แสดงทัศนะต่าง ๆ ความคิดเห็นต่อวงการวรรณกรรม ความรักที่เขามีต่อวรรณกรรมโดยเฉพาะในแนวที่เขารัก หลายฉบับทำให้ผู้อ่านหัวใจพองโต เป็นแบบที่จะมุ่งมั่นทำงานที่รักให้มันดีทำเต็มที่ นอกจากนั้นหลายฉบับผู้อ่านยังได้รับรู้วิธีคิด วิธีเขียน วิธีฝึกของกนกพงศ์ เป็นต้นว่า เขาสอนเคล็ดวิธีฝึกการบรรยายภาพ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับจากโฟลแบรต์

เช่นในหน้า 289

เกี่ยวกับบุคลิกตัวละครนั้น เผอิญผมเคยอ่านเจอเคล็ดลับบางอย่างสมัยผมเป็นวัยรุ่นแน่ะครับ บอกไว้เผื่อคุณนึกอยากเอาไปฝึกบ้าง แต่ไม่รับรองผล เป็นคำแนะนำจากกีย์ เดอร์ โมปัสชังต์ ที่กุสตาฟ โฟลแบรต์แนะเขามาอีกทอด (โมปัสซังต์เป็นลูกศิษย์ทางการเขียนของโฟลแบรต์)โฟลแบรต์สั่งเขาให้ออกไปที่ท่ารถ (รถม้าฝรั่งเศสสมัยนั้น) แล้วให้นั่งสังเกตคน หัดบรรยายบุคลิกลักษณะของแต่ละคน ว่าคนนี้แตกต่างจากคนอื่นอย่างไร โดยพยายามใช้ถ้อยคำให้น้อยที่สุด นั่นก็หมายถึง การจับเอาลักษณะเด่นที่สุดของคนคนนั้นมาบรรยาย ต่อไปก็คือการจินตนาการว่า คนหน้าตาแบบนี้ บุคลิดแบบนี้ ควรมีนิสัยอย่างไร แล้วค่อยขยายกว้างออกไปถึงว่า เขาน่าจะมีเรื่องราวในชีวิตอย่างไร
จำได้ว่าผมทดลองตามแบบนี้แหละครับ เวลาอยู่ตามป้ายรถเมล์ก็มักมองคนแต่ละคน แล้วหัดบรรยายในหัว นอกจากทำให้เราแม่นในการบรรยายหน้าตาของตัวละครแล้ว หลายครั้งแหละครับที่ผมได้เรื่องสั้นมาจากวิธีการนี้

หรือบ้างที่กนกพงศ์เขียนถึงเรื่องที่มัน poetic มาก ๆ เช่นวิธีหรือเครื่องมือที่เขาใช้เขียนงานแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน คือกนกพงศ์บอกว่าการเขียนด้วยเครื่องมือต่างกัน ให้อารมณ์ต่างกัน ผู้อ่านอ่านแล้วรู้เลยว่าเขาเป็นคนโรแมนติกเอามาก ๆ เช่นว่า

ในหน้า 245

อาจเป็นคนที่ยังยึดถืออยู่ในโลกใบเก่า ผมจึงไม่ใครใช้คอมพิวเตอร์ในการเขียนมากนัก (งานวรรณกรรณนั้นผมไม่ใช้มันเลยจะใช้ก็ต่อเมื่อในขั้นตอนขัดเกลา) ผมจับสังเกตได้ว่า ภาษาหรือรูปลักษณ์ประโยคของเรา ขึ้นตามเครื่องมือที่เราใช้ในการเขียน ดินสอก็อย่างหนึ่ง ปากกาอีกอย่าง พิมพ์ดีดอีกอย่าง และคอมพิวเตอร์อีกอย่าง คุณลองดูสิครับ แล้วจะสังเกตเห็นรูปประโยคที่ต่างออกไป เคยอ่านสัมภาษณ์ของนักเขียนสักคนไม่แน่ใจว่าจะเป็นวีเอส.ไนพอลหรือเปล่า ที่บอกว่าเขาดูงานเขียนของนักเขียนแต่ละคนแล้ว รู้ได้ทันทีว่าเขียนด้วยวิธีไหน จากรูปลักษณ์ประโยคนั่นแหละครับ ผมเห็นด้วยมันปรากฏอารมณ์อยู่ในตัวหนังสือ ตัวหนังสือที่ออกมาจากดินสอกับคอมพิวเตอร์นั้นให้อารมณ์ต่างกันแน่นอน ต่างกันชนิดที่เราอ่านแล้วรู้สึกได้ ระบุได้

ตรงนี้ผู้อ่านเองก็เห็นด้วย เหมือนกับที่เราวาดรูป ถ้าวาดด้วยคอมอารมณ์หนึ่ง วาดด้วยมืออีกอารมณ์ แต่ก็ใช่ว่าจะหมายความว่าเขียนด้วยมือ แล้วมันจะดีกว่าเขียนด้วยคอมเสมอไปนะ แต่มันเป็นเรื่องของ texture มากกว่าคือ texture ของงานคอมไม่เหมือนกับ texture ของงานมือ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมมากกว่า

นอกจากนี้บางฉบับยังมีความเห็นต่องานวรรณกรรณโลกหลาย ๆ เล่ม หรือต่อตัวนักเขียนเอง เช่น อมตะของกุนเดอร่าเป็นต้น เช่นในหน้า 164

เรื่องสาว ๆ ที่คุณว่ามาทำเอาอารมณ์ผมปั่นป่วนเล็กน้อยที่เป็นดังนี้ก็เพราะนิยาย ‘อมตะ’ ของคุนเดอรานั่นแหละ ต่อเล่มนี้ : ผมมีความเห็นเช่นเดียวกับคุณ นักเขียนฉลาด ผมยอมรับ และไม่ติดใจใด ๆ ในเมื่อฉลาดจริง เพียงแต่ออกจะหมั่นไส้อยู่บ้าง และพานไม่ชอบขี้หน้า ไม่ชอบนิสัยท่าทีของตัวหนังสือ ความฉลาดเพียงอย่างเดียวที่ทำให้ผมยอมรับ และอะไร ๆ ที่น่าเกลียดนั่นก็โดนความฉลาดข่มลง กลายเป็นให้อภัยได้ และมองลึกลงไปอีก การเขียนแบบให้ ‘เราหมั่นไส้’ คือรูปแบบที่นักเขียนตั้งใจใช้ เป็นวิธีของเขา และเขาทำได้สำเร็จ ถึงอย่างไร เขาก็ทำให้ผมยอมรับเขา เหมือนจำนน แต่ถามว่าประทับใจหรือไม่! ไม่! ผมชอบความสนุกใน ‘รักชวนหัว’ มากกว่า และประทับใจกับโลกทัศน์ของเขาใน ‘ความเบาหวิว’

ยังมีวิจารณ์กุนเดอร่าต่ออีกย่อหน้าคิดว่า ชาวกุนเดอเรียนอ่านก็คงมันละครับ แถมด้วยยกมาร์เกซมาเกทับเสียเลย ผู้อ่านอ่านแล้วก็มันดีครับ ไม่แน่ใจว่ากนกพงศ์ ได้อ่านเล่มอื่น ๆ ของกุนเดอร่าอีกมั้ย เพราะกุนเดอร่าเองก็เขียนทอดถ่ายวิชานิยายศาสตร์ไว้สามเล่มแล้ว เล่มที่สามพิมพ์หลังกนกพงศ์เสียชีวิตแล้ว ถ้าได้อ่านอาจจะหมั่นไส้กุนเดอร่ายิ่งกว่าเดิม (ฮา)

โดยรวมแล้วหนังสือเล่มนี้ อ่านแล้วได้อะไรมากทีเดียว โดยเฉพาะมุมมองที่ชนชั้นกลางในเมืองอย่างผู้อ่านมักแกล้งมองไม่เห็น ก็ถูกนำมาฉายผ่านจดหมายหลายฉบับทีเดียว และกนกพงศ์ เขียนจดหมายประณีตมาก ๆ ตั้งใจเขียนสุด ๆ อ่านลื่นปากและระรื่นหูมาก

น่าเสียดายที่คนมีฝีมือมี passion ฉลาด ขยัน เอาจริงเอาจัง ขนาดนี้อายุสั้นเหลือเกิน

เราแต่ละคนต่างมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ คนละ 1 ครั้ง ครั้งเดียว สิ่งที่เรียกว่า ‘ชีวิต’ จึงเป็นสิทธิ์ของใครแต่ละคน ของใครของมัน ตามความคิดความเชื่อของตัวเอง

ใครจะชวนทันสมัยไปทางไหนก็แล้วแต่ แต่สำหรับผมผมยืนยันแล้วที่จะเขียนถึงผู้คนเหล่านี้ เพราะนี่คือคุณค่า คือความหมายของวรรณกรรม ผมกำลังทำความรู้จักกับสังคมอันเป็นของประเทศของผม

————————————————————-

เกี่ยวกับนักเขียน
กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2509 และเสียชีวิตเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2549
มีผลงานทั้งสิ้น 12 เล่ม และ “แผ่นดินอื่น” ได้รับรางวัลซีไรต์จากรวมเรื่องสั้น ปี 2539
… (más)
 
Denunciada
natbeourfriend | Apr 13, 2008 |

Estadísticas

Obras
7
Miembros
8
Popularidad
#1,038,911
Reseñas
1
ISBNs
5