Fotografía de autor

Thomas M. Wilson (1)

Autor de Drinking Cultures: Alcohol and Identity

Para otros autores llamados Thomas M. Wilson, ver la página de desambiguación.

5 Obras 41 Miembros 1 Reseña

Obras de Thomas M. Wilson

Etiquetado

Conocimiento común

Todavía no hay datos sobre este autor en el Conocimiento Común. Puedes ayudar.

Miembros

Reseñas

หนังสือรวบรวมบทความ Border Identities: Nation and State at International Frontiers โดย Thomas Wilson and Hastings Donnan เป็นงานชิ้นที่น่าสนใจชิ้นหนึ่ง ที่นำเสนอแนวทางการศึกษาพื้นที่พรมแดนโดยการผสมผสานวิธีการทางมานุษยวิทยาในการศึกษาพื้นที่พรมแดนผ่านกรอบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แน่นอนว่าเส้นแบ่งกั้นขอบเขตประเด็นและระดับการวิเคราะห์พื้นที่ของนักมานุษยวิทยาที่มักเน้นกระบวนการระดับจุลภาค กับนักรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่สนใจประเด็นในระดับมหภาคเริ่มจะเลือนรางลงไปมาก ในยุคสมัยนี้ที่ปรากฏการณ์และผลจากการเปลี่ยนแปลงในระดับท้องถิ่นและระเบียบโลกเป็นเรื่องที่แบ่งแยกได้ยากเต็มที ในงานชิ้นดังกล่าว Wilson และ Donnan ได้ชี้ให้เห็นว่าการศึกษาพื้นที่ชายแดนระหว่างประเทศนั้นมีความสำคัญ เพราะพื้นที่ดังกล่าวนั้นเป็นที่ที่สะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ของผู้คนที่หลากหลายซึ่งเราไม่อาจพบเห็นได้ในพื้นที่อื่นๆ ของอาณาบริเวณรัฐ กรณีศึกษาพรมแดนทั้งสิบชิ้นในหนังสือเล่มนี้ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งข้อสรุปว่าพื้นที่พรมแดนนั้นเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้มีลักษณะหนึ่งเดียวตายตัว แต่การศึกษาพื้นที่พรมแดนดังกล่าวยังชี้ชวนให้เกิดการมองหรือการสร้างกรอบการคิดในเรื่องพรมแดนในหลายๆ รูปแบบ เช่น การศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางอำนาจกับความเป็นชายขอบ การศึกษาความเหลื่อมล้ำไม่ลงตัวระหว่างความเป็นรัฐกับความเป็นชาติ การศึกษาพื้นที่พรมแดนในฐานะที่ไม่เพียงแต่เป็นโครงสร้างทางการเมืองของรัฐเท่านั้น หากแต่ยังเป็นโครงสร้างที่เอื้อหนุนต่อการให้นิยามและการเข้าไปมีส่วนร่วมในพื้นที่ของกลุ่มทางสังคมอื่นๆ ด้วย เป็นต้น นอกจากงานดังกล่าวแล้ว หนังสืออีกเล่มหนึ่งซึ่งเป็นงานเขียนของ Donnan และ Wilson เองทั้งหมด คือ Borders: Frontiers of Identity, Nation and State ก็นับว่าเป็นงานที่บุกเบิกการทำความเข้าใจพื้นที่พรมแดนจากมุมมองของมานุษยวิทยาการเมืองอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งอาจเป็นงานชิ้นแรกก็ว่าได้ที่นำคำว่า “มานุษยวิทยาชายแดน” (anthropology of borders) มาใช้เรียกกลุ่มงานหรือแนวทางการศึกษาของตนเองอย่างเป็นทางการ และอาจจะถูกหยิบบกมาอ้างอิงถึงบ่อยๆ ในงานมานุษยวิทยาใหม่ๆ จนอาจจะกลายเป็นงานคลาสสิคชิ้นหนึ่งในอนาคตก็เป็นได้ จุดเน้นของงานชิ้นนี้แตกต่างจากงานก่อนหน้านี้ในแง่ที่ต้องการเข้าไปถกเถียงกับประเด็นของความเป็นชาติ อำนาจรัฐ และอัตลักษณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่างๆ ที่พรมแดนรัฐชาติเอื้อให้เกิดขึ้น โดยหลักแล้ว งานชิ้นนี้พยายามทำความเข้าใจว่าผู้คนที่พรมแดนนั้นมีประสบการณ์ข้ามพรมแดนในชีวิตประจำวัน ผ่านทางการค้าขายแลกเปลี่ยน การมีความสัมพันธ์ทางสังคมกับกลุ่มคนที่อยู่ตรงข้ามเส้นเขตแดน ผ่านทางการประกอบกิจกรรม พิธีกรรม ประเพณี ผ่านทางการติดต่อข้ามกลุ่มทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์อย่างไร และประสบการณ์ในชีวิตประจำวันที่พรมแดนเหล่านั้น มีผลต่อการมองตัวตนกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับอำนาจของรัฐและความเป็นส่วนหนึ่งของชาติอย่างไรบ้าง

การรวบรวมบทความที่ปรากฏอยู่ใน Border Identities ของ Wilson และ Donnan นี้ มีจุดน่าสนใจที่ควรนำมาอภิปรายต่อ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจปัจจัยการสร้างอัตลักษณ์ที่หลากหลายของผู้คนบนพรมแดนที่ต่างกัน รูปแบบการจัดการพรมแดนที่ไม่เหมือนกันในแต่ละพื้นที่ หรือความโดดเด่นของความเป็นชายแดนแต่ละแห่งได้มากยิ่งขึ้น ข้ออภิปรายที่น่าสนใจดังกล่าวคือ ปัจจัยของภูมิประเทศเชิงเปรียบเทียบ ซึ่งมีส่วนในการกำหนดหน้าตาและบุคลิกของพื้นที่ชายแดนแต่ละแห่งให้มีความแตกต่างกันออกไป แม้ว่างานชิ้นนี้จะรวบรวมการศึกษาชายแดนในพื้นที่ทางกายภาพที่แตกต่างกันไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งไม่ได้เพียงแต่จำกัดอยู่ที่จุดตรวจผ่านแดนเท่านั้น หากแต่ประกอบด้วยพรมแดนแม่น้ำ มหาสมุทรเปิด (ในบทของ Carsten) ช่องแคบ (Driessen) เทือกเขา หรือแม้แต่กระทั่งพรมแดนที่เป็นกำแพงที่มนุษย์สร้างขึ้น (Borneman) หากแต่น่าเสียดายที่ Wilson และ Donnan ซึ่งเป็นบรรณาธิการที่รวบรวมบทความเองกลับมองไม่เห็นข้อพิจารณาที่น่าสนใจดังกล่าว แต่กลับยังคงจำกัดกรอบการมองที่ยึดติดกับหน่วยของการวิเคราะห์ทางการเมือง และถกเถียงกับประเด็นเรื่องศูนย์กลางอำนาจของความเป็นรัฐมากเกินไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ลักษณะทางกายภาพหรือภูมิประเทศ ที่มีความจำเพาะเจาะจงและแตกต่างกันไปในแต่ละที่นั่นเอง ที่มีส่วนในการสร้างเอกลักษณ์ของพื้นที่ให้มีความแตกต่างจากที่อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้มักจะถูกมองข้ามในการศึกษาพรมแดนเรื่อยมา นักวิชาการที่ศึกษาพื้นที่พรมแดนมักจะตั้งคำถามแต่เพียงว่า การเป็นชายแดนนั้นทำให้พื้นที่ดังกล่าวนั้นมีความแตกต่างอย่างไรกับพื้นที่ในส่วนอื่นๆ ในอาณาบริเวณของรัฐชาติ หากแต่ละเลยที่จะทำความเข้าใจเชิงเปรียบเทียบว่า ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ต่างกันนั้นมีผลต่อลักษณะที่พิเศษแตกต่างกันไปอย่างไรของชายแดน เราจึงมักจะไม่ค่อยเห็นงานการศึกษาชายแดนเปรียบเทียบที่ตั้งคำถามว่า หน่วยงานเดียวกันของรัฐจัดการหรือควบคุมชายแดนของตน ที่เป็นเทือกเขากับแม่น้ำแตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร เช่นในกรณีของชายแดนไทย-ลาว เราจะเห็นว่ามีลักษณะของพื้นที่ชายแดนหลายแบบ เช่น ในส่วนที่เป็นแม่น้ำโขง หรือในส่วนที่เป็นเทือกเขา หรือในส่วนที่เป็นที่ราบเปิด หรือแม้กระทั่งที่ราบที่เป็นป่าปกคลุม เราไม่เคยยกประเด็นเรื่องภูมิประเทศเชิงเปรียบเทียบดังกล่าว มาทำความเข้าใจลักษณะภูมิประเทศอันจำเพาะที่มีอิทธิพลต่อความเป็นพรมแดนในแต่ละที่อย่างเพียงพอ และนี่อาจเป็นข้อจำกัดหนึ่งของพรมแดนศึกษาที่นักมานุษยวิทยาการเมืองมองข้ามกรอบการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์กายภาพในการทำความเข้าในพื้นที่ทางการเมืองของชายแดน
… (más)
 
Denunciada
jakkrits | Sep 6, 2008 |

Estadísticas

Obras
5
Miembros
41
Popularidad
#363,652
Valoración
½ 3.5
Reseñas
1
ISBNs
40
Idiomas
1